จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยี
เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้
เครื่องมือ ความคิด หลักการเทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี
กระบวนการตลอดจนผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยี หรือ ประยุกต์วิทยา หรือ
เทคนิควิทยา มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง
การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์
มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ
อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร
แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ
เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคมและในพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ
เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลาย ๆ
แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ในหลาย ๆ
ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้ผลผลิตที่ไม่ต้องการ หรือเรียกว่ามลภาวะ
เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างที่ถูกนำมาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม
เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคำถามทางจริยธรรม
ความหมาย
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี
ผู้คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเครื่องมือเครื่องจักรเชิงกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย
แต่ความเป็นจริงคือ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานานตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์
เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์นำความรู้จากธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปลงธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระดับพื้นฐานอาทิ
การเพาะปลูกการชลประทานการก่อสร้าง การทำเครื่องมือเครื่องใช้
การทำเครื่องปั้นดินเผาการทอผ้า เป็นต้น ปัจจัยการเพิ่มจำนวนของประชากร
ข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น
เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก
เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตก
ซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์
(คริสต์ศตวรรษที่ 16-17)
ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า
เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน
เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนาส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์
นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์
กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้
ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี
กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย
ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก
มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ
เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ
เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พ.ศ.2514
และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พ.ศ.2522
ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที
(Information
technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ
ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ
ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม
ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย
ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้
ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์)
เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ
ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
โครงสร้างสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศจำแนกตามโครงสร้างองค์การ (Classification
by Organizational Structure)
การจำแนกประเภทนี้เป็นการจำแนกตามโครงสร้างขององค์การตั้งแต่ระดับหน่วยงานย่อยระดับองค์การทั้งหมด
และระดับระหว่างองค์การ
สารสนเทศของหน่วยงานย่อย (Departmental
information system)
หมายถึงระบบสารสนเทศที่ออกมาเพื่อใช้สำหรับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งขององค์การโดยแต่ละหน่วยงานอาจมีโปรแกรมประยุกต์ใช้งานใดงานหนึ่งของตนโดยเฉพาะ
เช่นฝ่ายบุคลากรอาจจะมีโปรแกรมสำหรับการคัดเลือกบุคคลหรือติดตามผลการโยกย้ายงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานโดยโปรแกรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องของฝ่ายบุคลากรจะมีชื่อว่าระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์
(Human
resources information systems)
ระบบสารสนเทศของทั้งองค์การ (Enterprise
information systems)
หมายถึงระบบสารสนเทศของหน่วยงานที่มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ทั้งหมดภายในองค์การหรืออีกนัยหนึ่งก็คือองค์การนั้นมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงทั้งองค์การ
ระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงระหว่างองค์การ (Interorganizational
information systems-IOS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับองค์การอื่นๆภายนอกตั้งแต่
2 องค์การขึ้นไป
เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสารหรือการประสานงานร่วมมือมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยการผ่านระบบ IOS จะช่วยทำให้การไหลของสารสนเทศระหว่างองค์การหรือทั้งซัพพลายเชน
(Supply chain) เป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการวางแผน
ออกแบบ การพัฒนา การผลิตและการส่งสินค้าและบริการ
การจำแนกตามหน้าที่ขององค์การ (Classification
by Functional Area)
การจำแนกระบบสารสนเทศประเภทนี้จะเป็นการสนับสนุนการทำงานตาหน้าที่หรือการทำกิจกรรมต่างๆขององค์การ
โดยทั่วไปองค์การมักใช้ระบบสารสนเทศในงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ต่างๆเช่น
•ระบบสารสนเทศด้านบัญชี (Accounting
information system)
•ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Finance
information system)
•ระบบสารสนเทศด้านการผลิต (Manufacturing
information system)
•ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing
information system)
•ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human
resource management information system)
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ
(Classification
by Support Provided)
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ
แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย คือ ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction
Processing Systems) ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management
Reporting Systems) และระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision
Support Systems)
ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management
Reporting Systems)
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้และช่วยในการตัดสินใจที่มีลักษณะโครงสร้างชัดเจนและเป็นเรื่องที่ทราบล่วงหน้า
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision
Support Systems)
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยผู้บริหารตัดสินใจเชิงกลยุทธ์มีความยืดหยุ่นสูง
และมีลักษณะโต้ตอบได้ ( interactive) โดยอาจมีการใช้โมเดลการตัดสินใจ
หรือการใช้ฐานข้อมูลพิเศษช่วยในการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ(Transaction
Processing Systems -TPS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ
เช่น
การซื้อขายสินค้าการบันทึกจำนวนวัสดุคงคลังเมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันทีเช่น
ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า
ประเภทของลูกค้าจำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของ TPS
1.
มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตามกฎหมายเพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
2.
เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว
3.
เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้
4. เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น
เช่น MRS
หรือ DSS
หน้าที่ของ TPS
หน้าที่ของ TPS มีดังนี้
1. การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification)
คือการจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2. การคิดคำนวณ (Calculation)
การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ
หารเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น
การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
3. การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)
การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices
ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
4. การสรุปข้อมูล (Summarizing)
เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น
เช่นการคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
5. การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน
อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย
ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ
แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า
แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS
ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหารดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วยดังจะกล่าวต่อไป
ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS
ลักษณะที่สำคัญของระบบ TPS มีดังนี้
•มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
•แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็นหลักอย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนในการป้อนข้อมูลและอนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก
TPS โดยตรง
•กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ
เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ทุกสองสัปดาห์
•มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก
•มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว
เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
•TPS จะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว
•ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน
(structured data)
•ความซับซ้อนในการคิดคำนวณมีน้อย
•มีความแม่นยำค่อนข้างสูง
การรักษาความปลอดภัยตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS
•ต้องมีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง
กระบวนการของ TPS
กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS
มี 3 วิธี คือ
1. Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดยการรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด
(batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผลโดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ
(อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วันหรือทุกสัปดาห์)
2. Online processing คือ
ข้อมูลจะได้รับการประมวลผลและทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น
เช่นการเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันทีเมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง
3. Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2)
โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันทีแต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด
เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูลการซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ
จุดขายของแต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น
หลังเลิกงาน)
Customer Integrated Systems (CIS)
เป็นระบบสารสนเทศซึ่งพัฒนามาจาก TPS
โดยลูกค้าสามารถป้อนข้อมูลและทำการประมวลผลด้วยตนเองได้ เช่น ATM
(Automated teller machines) ซึ่งช่วยให้ลูกค้า
สามารถติดต่อกับธนาคารได้ทุกที่และทุกเวลา ATM ทำให้ลูกค้ามีความคล่องตัวในการเข้าถึง
มากขึ้นและทำให้ธนาคารไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานจำนวนมากอีกต่อไปซึ่งช่วยให้ธนาคารประหยัดเงินได้จำนวนหลายล้านบาทต่อปีดังนั้นบางธนาคารจึงได้ส่งเสริมให้ลูกค้าในการใช้
ATM โดยการคิดค่าธรรมเนียมหากลูกค้าติดต่อกับพนักงานในการเบิกถอนเงินในลักษณะที่สามารถเบิกถอนได้กับเครื่อง
ATM
นอกจากงานของธนาคารแล้ว
ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้นำระบบ CIS มาใช้เพื่อให้นักศึกษาสามารถลงทะเบียนโดยผ่านเครื่องโทรศัพท์
นอกจากนี้ CIS ยังช่วยให้ประชาชนสามารถจ่ายค่าน้ำค่าไปจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านก็ได้
หน้าที่การทำงานของ TPS
งานเงินเดือน (Payroll)
• การติดตามเวลาการทำงานของพนักงาน
• การคิดเงินเดือน โดยมีการหักภาษี
ค่าประกันหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ
• การออกเช็คเงินเดือนหรือการโอนเงินเดือนเข้าบัญชีให้กับลูกจ้าง
การสั่งซื้อสินค้า (Purchasing)
• การสั่งซื้อหรือบริการต่างๆ
• การบันทึกข้อมูลการส่งสินค้าหรือบริการจากซัพพลายเออร์
การเงินและการบัญชี (Finance and
Accounting)
• การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ
• การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับภาษี
• การติดตามค่าใช้จ่ายต่างๆ
• การขาย (Sales)
• การบันทึกข้อมูลการขาย
• การออกใบเสร็จรับเงินหรือบิลส่งสินค้า
• การติดตามข้อมูลรายรับ
• การบันทึกการจ่ายหนี้
• การเก็บข้อมูลการส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า
• วัสดุคงคลัง
• การติดตามการใช้วัสดุภายในหน่วยงาน (Inventory
Management)
• การติดตามระดับปริมาณของวัสดุคงเหลือ
• การสั่งซื้อวัสดุที่จำเป็น
ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management
Reporting Systems MRS)
ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยการสรุปสารสนเทศที่มีอยู่ไว้ในฐานข้อมูลหรือช่วยในการตัดสินใจในลักษณะที่โครงสร้างชัดเจนและเป็นเรื่องที่ทราบล่วงหน้า
หน้าที่ของแบบ MRS
1.
ช่วยในการตัดสินใจงานประจำของผู้บริหารระดับกลาง
2. ช่วยในการทำรายงาน
3. ช่วยในการตัดสินใจที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ
และมีโครงสร้างแน่นอน เช่นการอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า
ลักษณะของ MRS
1.
ช่วยในการจัดทำรายงานซึ่งมีรูปแบบที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานตายตัว
2. ใช้ข้อมูลภายในที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล
3. ช่วยในการวางแผนงานประจำและควบคุมการทำงาน
4.
ช่วยในการตัดสินใจที่เกิดขึ้นประจำหรือเกิดขึ้นบ่อยๆ
5. มีข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน
และวิเคราะห์แนวโน้มอนาคต
6.
ติดตามการดำเนินงานภายในหน่วยงานเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับเป้าหมายและส่งสัญญาณหากมีจุดใดที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไข
ประเภทของรายงาน MRS
รายงานจาก MRS มีลักษณะต่างๆ ดังนี้
1. รายงานที่จัดทำเมื่อต้องการ (Demand
reports) เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจเป็นรายงานที่จัดเตรียมรูปแบบรายงานล่วงหน้าและจะจัดทำเมื่อผู้บริหารต้องการเท่านั้น
2. รายงานที่ทำตามระยะเวลากำหนด (Periodic
reports) โดยกำหนดเวลา และรูปแบบของรายงานไว้ล่วงหน้า เช่น
มีการจัดทำรายงานทุกวันทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี เช่น ตารางเวลาการผลิต
3. รายงานสรุป (Summarized
reports) เป็นการทำรายงานในภาพรวม เช่น
รายงานยอดขายของพนักงานขายจำนวนนักศึกษาลงทะเบียนวิชา MIS
4. รายงานเมื่อมีเงื่อนไขเฉพาะเกิดขึ้น (Exception
reports) เป็นการจัดทำรายงานเมื่อมีเกณฑ์เงื่อนไขเฉพาะเพื่อตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ
ว่าแตกต่างจากที่วางแผนไว้หรือไม่ เช่นการกำหนดให้เศษของที่เหลือ (scrap) จากการผลิตในโรงงานเป็น 1
เปอร์เซ็นต์แต่ในการผลิตช่วงหลังกลับมีเศษของที่เหลือ 5 เปอร์เซ็นต์ดังนั้นอาจมีการเขียนโปรแกรมในการประมวลผลเพื่อหาว่าเศษของที่เหลือเกินจากที่กำหนดไว้ได้อย่างไร
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision
Support Systems-DSS)
ระบบสารสนเทศแบบ DSS
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ
ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจนโดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ
ลักษณะของ DSS
1.
ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือกลุ่มโดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ
ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
2. ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลใน
DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆ
ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis
3.
ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูงเพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน
ดังนั้น DSS
จึงมีลักษณะการโต้ตอบได้ (interactive)
4.
เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
5. จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายแหล่งได้ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
6.
นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นข้อความและกราฟฟิค
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยี
มีความสำคัญ 3 ประการ คือ
1.ประสิทธิภาพ (Efficiency)
เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้
เที่ยงตรงและรวดเร็ว
2.ประสิทธิผล (Productivity) เกิดผลผลิตเต็มที่ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3.ประหยัด (Economy) ประหยัดทั้งเวลาและแรงงานลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก
ความสำคัญของเทคโนโลยี
1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ
ในช่วงสองทศวรรษทีผ่านมา วิทยาศาสตร์ และ
เทคโนโลยีได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้างนวัตกรรม (Innovation)
ซึงก็คือ การเรียนรู้การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่
ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกทีเรียบง่ายกลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที
สลับซับซ้อนมากขึ้นก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน หรือกระแสโลกาภิวัฒน์
ทีเข้ามาสู่ทุกประเทศอย่างรวดเร็ว จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็กทรอ นิกส์ โทรคมนาคม
และข่าวสาร (Electronics , Computer ,Telecomunication and Information หรือเรียกย่อๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
สามารถรับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้พร้อมกัน
สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลาการลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินที่ได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้นเทคโนโลยีกำลังทำให้โลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ
วิวัฒนาการเทคโนโลยี (Evolution of Technolgy)
เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไปขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับกระบวนการทางวิวัฒนาการ
(Evolution)
ของระบบหรือเครื่องมือนั้นๆ ดังนั้นคำว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยี (Evolution
of Technology) จึงหมายถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบหรือเครื่องมือที่เกิดขึ้นอย่างซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับอย่างต่อเนื่องอันมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ
วิวัฒนาการสามารถแบ่งได้เป็น 5
ยุค
- ยุคหิน (Stone age)
- ยุคทองสัมฤทธิ์ ( Bronze age)
- ยุคเหล็ก (Iron age)
- ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
- ยุคศตวรรษที่ 20 (The 20th Century)
ความสัมพันธ์ระหว่าง เทคโนโลยี
กับ นวัตกรรม
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆในภาษาอังกฤษใช้คำว่า
Innotechความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม
ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่างๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงานหรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้
ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วยและในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ๆ
ขึ้นสิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรม และ
เทคโนโลยีอยู่ควบคู่กันเสมอ
ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมากกล่าวโดยสรุปดังนี้
1.เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน
ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย
เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม
วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน
เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
2.เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร
ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น
เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน
เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม
เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมากในทางเศรษฐศาสตร์
มองเทคโนโลยีว่าเป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน
ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
(รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้นวิทยาการและความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีปัจจุบันเทคโนโลยีได้เป็นที่สนใจของคนทุกมุมโลกทุกสาขา
เทคโนโลยีจึงเป็นที่แพร่หลายและนำมาใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน
การเรียนการศึกษาในสมัยนี้จึงมีหลักสูตรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเข้าไปด้วย
เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุดที่คนทั่วโลกให้ความสำคัญคือเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพราะปัจจุบันนี้อุปกรณ์หลายชนิดก็ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์โทรศัพท์มือถืออินเทอร์เน็ตPDAGPSดาวเทียม
และไม่นานมานี้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
เป็นการบ่งบอกว่าสังคมให้ความสำคัญแก่คอมพิวเตอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น